วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

หน้าหลัก

     การจัดทำบล็อกเกอร์ขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชา เทคโนโลยีเว็บบล็อก นำเสนอบล็อกเกอร์เรื่อง กีฬาเทเบิลเทนนิส เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่อง กีฬาเทเบิลเทนนิส
     กระผมหวังว่า บล็อกเกอร์เรื่องนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน หรือ นักศึกษา ที่กำลังหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่ หากมีข้อแนะนำ หรือ ข้อผิดพลาดประการใด กระผมขออภัยมา ณ ที่นี้


                                                           ผู้จัดทำ
                                                 ด.ช.ธนาวุฒิ ยังจันทร์  
                                         วันที่ 3 มกราคม พุทธศักราช 2559 

กีฬาเทเบิลเทนนิส

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กีฬาปิงปอง อุปกรณ์ช่วงแรก


กีฬาเทเบิลเทนนิส

     กีฬาเทเบิลเทนนิส เป็นกีฬาสันทนาการอีกชนิดหนึ่งที่สามารถเล่นเพื่อสร้างความสนุกสนานในหมู่คณะ ขณะเดียวกันก็เป็นกีฬาที่มีความท้าทายที่ผู้เล่นต้องอาศัยไหวพริบ และความคล่องแคล่วของร่างกายในการรับ-ส่งลูก ซึ่งความท้าทายนี้จึงทำให้กีฬาเทเบิลเทนนิสได้รับความนิยมในระดับสากล กระทั่งถูกบรรจุในการแข่งขันระดับโลก 

ประวัติกีฬาเทเบิลเทนนิส

ประวัติกีฬาเทเบิลเทนนิส
     กีฬาเทเบิลเทนนิสได้เริ่มขึ้นครั้งแรก ในปี ค.ศ.1890 (พ.ศ.2433) ที่ประเทศอังกฤษ โดยในอดีตอุปกรณ์ที่ใช่เล่นเทเบิลเทนนิสเป็นไม้หุ้มหนังสัตว์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับไม้เทเบิลเทนนิสในปัจจุบัน ส่วนลูกที่ใช่ตีเป็นลูกเซลลูลอยด์ ซึ่งทำจากพลาสติกกึ่งสังเคราะห์ โดยเวลาที่ลูกบอลกระทบกับพื้นโต๊ะ และไม้ตีจะเกิดเสียง "ปิก-ป๊อก" ดังนั้น กีฬานี้จึงถูกเรียกชื่อตามเสียงที่ได้ยินว่า "ปิงปอง" (PINGPONG) และได้เริ่มแพร่หลายในกลุ่มประเทศยุโรปก่อน
     ซึ่งวิธีการเล่นในสมัยยุโรปตอนต้น จะเป็นการเล่นแบบยัน (BLOCKING) และแบบดันกด (PUSHING) ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นเล่นแบบ BLOCKING และ CROP หรือเรียกว่า การเล่นถูกตัด ซึงวิธีการเล่นนี้เป็นที่นิยมมากแถบยุโรป ส่วนวิธีการจับไม้ จะมี 2 ลักษณะ คือ จับไม้แบบจับมือ (SHAKEHAND) ซึ่งเราเรียกกันว่า"จับไม้แบบยุโรป" และการจับไม้แบบจับปากกา (PENHOLDER) ซึ่งเราเรียกกันว่า "จับไม้แบบจีน" 
     ในปี ค.ศ.1900 (พ.ศ.2443) เริ่มปรากฎว่า มีการหันมาใช้ไม้เทเบิลเทนนิสติดยางเม็ดแทนหนังสัตว์ดังนั้นวิธีการเล่นแบบรุก หรือแบบบุกโจมตี (ATTRACK หรือ OFFENSIVE) โดยใช้ท่า หน้ามือ (FOREHAND) และ หลังมือ (BACKHAND) เริ่มมีบทบาทมากขึ้น และยังคงนิยมการจับไม้แบบยุโรป ดังนั้นจึงถือว่ายุโรปเป็นศูนย์รวมของกีฬาเทเบิลเทนนิสอย่างแท้จริง
     ต่อมาในปี ค.ศ.1922 (พ.ศ.2465) ได้มีบริษัทค้าเครื่องกีฬา จดทะเบียนเคื่องหมายการค้าว่า"PINGPONG" ด้วยเหตุนี้ กีฬาเทเบิลเทนนิสจึงต้องเปลี่ยนชื่อเป็น เทลเบิลเทนนิส (TABLE TENNIS) และในปี ค.ศ.1926 (พ.ศ.2469) ได้มีการประชุมก่อตั้งสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (INTERNATIONAL TABLETENNIS FEDERATION:ITTF) ขึ้นที่กรุงลอนดอนในเดือนธันวาคมพร้อมกับมีการจัดการแข่งขันเทเบิลเทนนิสแห่งโลกครั้งที่ 1 ขึ้น เป็นครั้งแรก     
     จากนั้นในปี ค.ศ.1950 (พ.ศ.2493) เป็นยุคที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งได้หันมาสนใจกีฬาเทเบิลเทนนิสมากขึ้น และได้มีการปรับวิธีการเล่นโดยเน้นไปที่ การตบลูกแม่นยำ และหนักหน่วง และการใช้จังหวะเด้นของปลายเท้า ต่อมาในปี ค.ศ.1952 (พ.ศ.2495) ญี่ปุ่นได้เข้าร่วมการแข่งขันเทเบิลเทนนิส โลกเป็นครั้งแรก ที่กรุงบอมเบย์ ประเทศอินเดีย และในปี ค.ศ.1953 (พ.ศ.2496) สาธารณรัฐประชาชนจีนจึงได้เข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรกที่กรุงบูคาเรสต์ ประเทศรูมาเนีย ทำให้กีฬาเทเบิลเทนนิสกลายเป็นกีฬาระดับโลกที่แท้จริง โดยในยุคนี้ญี่ปุ่นใช้การจับไม้แบบจับปากกา และมีการพัฒนาไม้ปิงปองโดยใช้ยางเม็ดสอดไส้ด้วยฟองน้ำ เพิ่มเติมจากยางชนิดเม็ดเดิมที่ใช้กันทั่วโลก 
 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กีฬาปิงปอง อุปกรณ์ช่วงแรก    

     ในเรื่องเทคนิคของการเล่นนั้น ยุโรปรุกด้วยความแม่นยำ และมีช่วงตีสวิงสั้นๆ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับญี่ปุ่นที่ใช้ปลายเท้าเป็นศูนย์กลางของการตีลูกแบบรุกอย่างต่อเนื่อง ทำให้ญี่ปุ่นสามารถชนะการเล่นของยุโรปได้ แม้ในช่วงแรกหลายประเทศจะมองว่าวิธีการเล่นของญี่ปุ่น เป็นการเล่นที่ค่อนข้างเสี่ยง แต่ญี่ปุ่นก็สามารถเอาชนะในการแข่งขันติดต่อกันได้หลายปี เรียกได้ว่าเป็นยุคมืดของยุโรปเลยทีเดียว
     ในที่สุดสถานการณ์ก็เปลี่ยนไป เมื่อสาธารณรัฐประชาชนจีนสามารถเอาชนะญี่ปุ่นได้ด้วยวิธีการโจมตีแบบรวดเร็ว ผสมผสานกับการป้องกัน ซึ่งจีนได้ศึกษาการเล่นของญี่ปุ่น ก่อนนำมาประยุกต์ให้เข้ากับการเล่นแบบที่จีนถนัด กระทั่งกลายเป็นวิธีการเล่นของจีนที่เราเห็นในปัจจุบัน
     หลังจากนั้นยุโรปได้เริ่มฟื้นตัวขึ้นมาอีกครั้ง เนื่องจากนำวิธีการเล่นของชาวอินเดียมาปรับปรุงและในปี ค.ศ.1970 (พ.ศ.2513) จึงเป็นปีของการประจันหน้าระหว่างผู้เล่นชาวยุโรป และผู้เล่นชาวเอเชีย แต่นักกีฬาของญี่ปุ่นได้แก้ตัวลงแล้ว ขณะที่นักกีฬารุ่นใหม่ของยุโรปได้เริ่มเก่งขึ้น ทำให้ยุโรปสามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศชายเดี่ยวของโลกไปครองได้สำเร็จ
     จากนั้นในปี ค.ศ.1971 (พ.ศ.2514) นักเทเบิลเทนนิสชาวสวีเดน ชื่อ สเตลัง เบนค์สัน เป็นผู้เปิดศักราชใหม่ให้กับชาวยุโรป โดยในปี ค.ศ.1973 (พ.ศ.2516) ทีมสวีเดนสามารถคว้าแชมป์โลกได้ จึงทำให้ชาวยุโรปมีความมั่นใจในวีธีการเล่นที่ปรับปรุง ดังนั้นนักกีฬาของยุโรปและนักกีฬาของเอเชีย จึงเป็นคู่แข่งที่สำคัญ ในขณะที่นักกีฬาในกลุ่มชาติอาหรับ และลาตินอเมริกา ก็เริ่มก้าวหน้ารวดเร็วขึ้น และมีการเปลี่ยนแปลงความรู้ทางด้านเทคนิค ทำให้การเล่นแบบตั้งรับ ซึ่งหายไปตั้งแต่ปี ค.ศ.1960 (พ.ศ.2503) เริ่มกลับมามีบทบาทอีกครั้ง
     จากนั้นจึงได้เกิดการพัฒนาเทคนิคการเปลี่ยนหน้าไม้ในขณะเล่นลูก และมีการปรับปรุงหน้าไม้ซึ่งติดด้วยยางเทเบิลเทนนิส ที่มีความยาวของเม็ดยางมากกว่าปกติ โดยใช้ยางที่สามารถเปลี่ยนวิถีการหมุน และทิศทางของลูกเข้าได้ จึงนับได้ว่ากีฬาเทเบิลเทนนิสเป็นกีฬาที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยมีการพํฒนาอุปกรณ์ และวิธีการเล่นใหม่ๆตลอดเวลา กระทั่งกีฬาเทเบิลเทนนิสได้ถูกบรรจุเป็นการแข่งขันประเภทหนึ่งในกีฬาโอลิมปิก เมื่อปี ค.ศ.1988 (พ.ศ.2531) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงโซล ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี
     สำหรับประวัติกีฬาเทนเบิลเทนนิสในประเทศไทยนั้น ทราบเพียงว่า คนๆทยรู้จักคุ้นเคย และเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิสเป็นเวลาช้านาน แต่รู้จักกันในชื่อว่า กีฬาปิงปอง โดยไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่ามีการนำกีฬาชนิดนี้เข้ามาเล่นในประเทศไทยตั้งแต่เมื่อใด และใครผู้นำเข้ามา แต่ปรากฎว่ามีการเรียนการสอนมานานกว่า 30 ปี โดยในปี พ.ศ.2500 ประเทศไทยได้มีการจัดตั้งสมาคมเทเบิลเทนนิสสมัครเล่นแห่งประเทศไทย และมีการแข่งขันของสถาบันต่างๆ รวมทั้งมีการแข่งขันชิงแชมป์ถ้วยพระราชทานแห่งประเทศไทย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

    
     
    

กติกากีฬาเทเบิลเทนนิส

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กีฬาปิงปอง อุปกรณ์ช่วงแรก


กติกากีฬาเทเบิลเทนนิส
     กติกากีฬาเทเบิลเทนนิสเป็นกติกาที่กำหนดเรื่อง อุปกรณ์ของกีฬาเทเบิลเทนนิส และอื่นๆ เช่น โต๊ะกีฬาเทเบิลเทนนิส ตาข่ายกีฬาเทนเบิลเทนนิส ลูกเทเบิลเทนนิส ไม้เทเบิลเทนนิส คำจำกัดความ
การส่งลูกที่ถูกต้อง การรับลูกที่ถูกต้อง ลำดับการเล่น


โต๊ะกีฬาเทเบิลเทนิส

โต๊ะกีฬาเทเบิลเทนนิส

1.พื้นหน้าด้านบนของโต๊ะเรียกว่า "พื้นผิวโต๊ะ" (PLAYING SURFACE) จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความยาว 2.74 เมตร (9 ฟุต) ความกว้าง 1.525 เมตร (5 ฟุต ) และจะต้องสูงได้ระดับโดยวัดจากพื้นที่ตั้งขึ้นมาถึงพื้นที่ผิวโต๊ะ สูง 76 เซนติเมตร (2 ฟุต 6 นิ้ว) 
2.พื้นผิวโต๊ะ ไม่รวมถึงด้านข้างตามแนวตั้งที่อยู่ต่ำกว่าขอบบนสุดของโต๊ะลงมา
3.พื้นผิวโต๊ะอาจทำด้วยวัสถุๆใดๆ ก็ได้ แต่จะต้องมีความกระดอนสม่ำเสมอเมื่อเอาลูกเทเบิลเทนนิสมาตรฐานปล่อยลงในระยะสูง 30 เซนติเมตร โดยวัดจากพื้นผิวโต๊ะลูกจะกระดอนขึ้นมาประมาณ 23 เซนติเมตร
4.พื้นผิวโต๊ะจะต้องเป็นสีเข้มสม่ำเสมอและสีด้าน ไม่สะท้อนแสง ขอบด้านบนของพื้นผิวโต๊ะทั้ง 4 ด้าน จะทาด้วยสีขาว มีขนาดความกว้าง 2 เซนติเมตร เส้ยของพื้นผิวโต๊ะด้านยาว 2.74 เมตร ทั้งสองด้านเรียกว่า "เส้นข้าง" (SIDE LINE) เส้นของพื้นผิวโต๊ะด้านกว้าง 1.525 เมตร ทั้งสองด้านเรียกว่า "เส้นสกัด" (END LINE
5.พื้นผิวโต๊ะจะถูกแบ่งออกเป็นสองแดน (COOURTS) เท่าๆกัน กั้นด้วยตาข่ายซึ่งขึงตั้งฉากกับพื้นผิวโต๊ะ และขนานกับเส้นสกัดโดยตลอด
6.สำหรับปรัเภทคู่ในแต่ละแดนจะถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนเท่าๆกัน ด้วยเส้นสีขาว มีขนาดกว้าง 3 มิลลิเมตร โดยขีดขนานกับเส้นข้าง เรียกว่า "เส้นกลาง" (CENTER LINE) และให้ถือว่าเส้นกลางนี้เป็นส่วนหนึ่งของคอร์ดด้านขวาของโต๊ะด้วย
7.ในการแข่งขันระดับมาตรฐานสากล โต๊ะเทเบิลเทนนิสที่ใช่สำหรับการแข่งขันจะต้องเป็นยี่ห้อและชนิที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิส (ITTF) เท่านั้น โดยโต๊ะเทเบิลเทนนิสจะมีสีเขียวหรือสีน้ำเงิน และในการลงแข่งจะต้องระบุสีของโต๊ะที่จะใช้แข่งขันลงในระเบียบการแข่งขันด้วยทุกครั้ง

ส่วนประกอบของตาข่าย

ส่วนประกอบของตาข่าย
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตาข่ายเทเบิลเทนนิส

1.ส่วนประกอบของตาข่ายจะประกอบด้วย ตาข่าย ที่แขวนและเสาตั้ง รวมไปถึงที่จับยึดของโต๊ะเทเบิลเทนนิส
2.ตาข่ายจะต้องขึงตึงและยึดด้วยเชือกซึ่งผูกติดปลายยอดเสาซึ่งตั้งตรงสูงจากพื้นผิวโต๊ะ 15.25 เซนติเมตร (6 นิ้ว
3.ส่วนบนสุดของตาข่ายตลอดแนวยาวจะต้องสูงจากพื้นผิวโต๊ะ 15.25 เซนติเมตร
4.ส่วนล่างสุดของตาข่ายตลอดแนวยาวจะต้องอยู่ชิดกับพื้นผิวโต๊ะให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และส่วนปลายสุดของตาข่ายทั้งสองด้านจะต้องอยู่ชิดกับเสาให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
5.ในการแข่งขันระดับมาตรฐานสากล ตาข่ายที่ใช้สำหรับแข่งขันจะต้องเป็นยี่ห้อและชนิดที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (ITTF) เท่านั้น

ลูกเทเบิลเทนนิส

ลูกเทเบิลเทนนิส

1.ลูกเทเบิลเทนนิส จะต้องกลมและมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 40 มิลลิเมตร
2.ลูกเทเบิลเทนนิส จะต้องมีน้ำหนัก 2.7 กรัม
3.ลูกเทเบิลเทนนิส จะต้องทำด้วยเซลลูลอยด์หรือวัสดุอื่นใดที่คลายคลึงกัน มีสีขาว หรือ สีส้ม และเป็นสีด้าน
4.ลูกเทเบิลเทนนิส จะต้องเป็นยี่ห้อและชนิดที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (ITTF) เท่านั้น และจะต้องระบุสีของลูกที่ใช้แข่งขันลงในระเบียบการแข่งขันทุกครั้ง

ไม้เทเบิลเทนนิส

ไม้เทเบิลเทนนิส
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ไม้เทเบิลเทนนิส
1.ไม้เทเบิลเทนนิสจะมีรูปร่าง ขนาด หรือน้ำหนักอย่างไรก็ได้ แต่หน้าไม่ต้องแบนเรียบและแข็ง
2.อย่างน้อยที่สุด 85% ของความหนาขอไม้ จะต้องทำด้วยไม้ธรรมชาติ ชั้นที่อัดติดอยู่ในหน้าไม้ ซึ่งทำด้วยวัสดุอื่นใด เช่น คาร์บอนไฟเบอร์ กลาสไฟเบอร์ หรือกระดาษอัด จะต้องมีความหนาไม่เกิน 7.5% ของความหนาทั้งหมดของไม้ หรือไม่เกิน 0.35 มิลลิเมตร สุดแท้แต่กรณีใดจะมีค่ามากกว่า
3.หน้าไม้เทเบิลเทนนิสด้านที่ใช่ตีลูกจะต้องมีวัสดุปิดทับวัสดุนั้นจะเป็นแผ่นยางเม็ดธรรมดา แผ่นยางชนิดนี้ เมื่อปิดทับหน้าไม้และรวมกับกาวแล้วต้องมีความหนาทั้งสิ้นไม่เกิน 2 มิลลิเมตร หรือแผ่นยางชนิดสอดไส้ แผ่นยางชนิดนี้เมื่อปิดทับหน้าไม้และรวมกับกาวแล้วจะต้องมีความหนาทั้งสิ้นไม่เกิน 4 มิลลิเมตร ทั้งนี้ความสูงของเม็ดยางจะเท่ากับความกว้างเม็ดยางในอัตราส่วน 1:1
3.1แผ่นยางเม็ดธรรม (ORDINARY PIMPLED RUBBERจะต้องเป็นแผ่นยางชิ้นเดียวและไม่มีฟองนี้รองรับโดยหันเอาเม็ดยางออกมาด้านนอก จะทำด้วยยางธรรมชาติหรือยางสังเคราะห์ มีเม็ดยางกระจายอยู่อย่างสม่ำเสมอไม่น้อยกว่า 10 เม็ดต่อ 1 ตารางเซนติเมตร และไม่มากกว่า 30 เม็ดต่อ 1 ตารางเซนติเมตร
3.2  แผ่นยางชนิดสอดไส้ (SANDWICH RUBBER) ประกอบด้วยฟองน้ำชนิดเดียวปิดคลุมด้วยแผ่นยางธรรมดาชิ้นเดียว โดยจะหันเอาเม็ดยางอยู่ด้านในหรืออยู่ด้านนอกก็ได้ ซึ่งความหนาของแผ่นยางธรรมดานี้จะต้องมีความหนาไม่เกิน 2 มิลลิเมตร 
4.วัสดุปิดทับหน้าไม้จะต้องปิดทับคลุมหน้าไม้ด้านนั้น ๆ และจะต้องไม่เกินขอบน้าไม้ออกไป ยกเว้นส่วนที่ใกล้กับด้ามจับที่สุดและที่วางนิ้วอาจจะหุ้มหรือไม่หุ้มด้วยวัสดุใด ๆ ก็ได้ 
5. หน้าไม้เทเบิลเทนนิส ชั้นภายในหน้าไม้ และชั้นของวัสดุปิดทับต่าง ๆ หรือกาว จะต้องสม่ำเสมอและมีความหนาเท่ากันตลอด 
6.  หน้าไม้เทเบิลเทนนิส ด้านหนึ่งจะต้องเป็นสีแดงสว่าง (BRIGHT RED) และอีกด้านหนึ่งจะต้องเป็นสีดำ (BLACK) และจะต้องมีสีกลมกลืนอย่างสม่ำเสมอไม่สะท้อนแสง
7.วัสดุที่ปิดทับหน้าไม้สำหรับตีลูกเทเบิลเทนนิสจะต้องมีเครื่องหมายการค้าของ บริษัท ผู้ผลิต ยี่ห้อ รุ่น  และเครื่องหมาย ITTF แสดงไว้อย่างชัดเจนใกล้กับขอบของหน้าไม้ โดยจะต้องเป็นชื่อ ยี่ห้อและชนิด (BRAND AND TYPE) ที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (ITTF) ครั้งหลังสุดเท่านั้น
8.สำหรับกาวที่มีส่วนประกอบของสารที่เป็นพิษ จะไม่อนุญาตให้ใช้ทาลงบนหน้าไม้เทเบิลเทนนิส ผู้เล่นจะต้องใช้กาวแผ่นสำเร็จรูปหรือกาวที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (ITTF) เท่านั้น และห้ามใช้กาวในการติดยางกับไม้เทเบิลเทนนิสในบริเวณสนามแข่งขัน
9. การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยของความสม่ำเสมอของผิวหน้าไม้หรือวัสดุปิดทับ หรือความไม่สม่ำเสมอของสีหรือขนาดเนื่องจากการเสียหายจากอุบัติเหตุ การใช้งานหรือสีจางอาจจะอนุญาตให้ใช้ได้ โดยเงื่อนไขว่าเหตุเหล่านั้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญต่อคุณลักษณะของผิวหน้าไม้ หรือวัสดุปิดทับ
10.เมื่อเริ่มการแข่งขัน และเมื่อใดก็ตามที่ผู้เล่นเปลี่ยนไม้เทเบิลเทนนิสระหว่างการแข่งขัน ผู้เล่นจะต้องแสดงไม้เทเบิลเทนนิสที่เขาเปลี่ยนให้กับคู่แข่งขัน และกรรมการผู้ตัดสินตรวจสอบก่อนทุกครั้ง 
11. เป็นความรับผิดชอบของผู้เล่นที่จะต้องมั่นใจว่าไม้เทเบิลเทนนิสนั้นถูกต้องตามกติกา
12. ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์การเล่น ให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้ชี้ขาด



คำจำกัดความ

คำจำกัดความ
1.การตีโต้(RALLY)
2.ลูกอยู่ในการเล่น(INPLAY
3.การส่งใหม่(LET) 
4.การได้คะแนน(POINT) 
5.มือที่ถือไม้(RACKET HAND) 
6.มืออิสระ(FREE HAND) 
7.การตีลูก(STRIKES) 
8.การขวางลูก(OBSTRUCTS) 
9.ผู้ส่ง(SERVER)
10.ผู้รับ(RECEIV) 
11.ผู้ตัดสิน (UMPIRE) 
12.ผู้ช่วยตัดสิน (ASSISTANT UMPIRE)
13. สิ่งใด ๆ ที่ผู้เล่นสวมใส่หรือถืออยู่ 
14.ลูกเทเบิลเทนนิสจะถูกพิจารณาว่าผ่านตาข่าย ถ้าข้ามผ่านหรืออ้อม หรือลอดส่วนประกอบของตาข่าย ยกเว้นลูกที่ลอดระหว่างตาข่ายกับพื้นผิวโต๊ะ หรือลูกที่ลอดระหว่างตาข่ายกับอุปกรณ์ที่ยึดตาข่าย 
15.เส้นสกัด (END LINE)

การส่งลูกที่ถูกต้อง

การส่งลูกที่ถูกต้อง
1. เมื่อเริ่มส่ง ลูกเทเบิลเทนนิสต้องวางเป็นอิสระอยู่บนฝ่ามืออิสระ โดยแบฝ่ามือออกและลูกจะต้องอยู่นิ่ง
2.ในการส่ง ผู้ส่งจะต้องโยนลูกขึ้นข้างบนด้วยมือให้ลูกลอยขึ้นข้างบนใกล้เคียงกับเส้นตั้งฉาก และให้สูงจากจุดที่ลูกออกจากฝ่ามือไม่น้อยกว่า 16 เซนติเมตร โดยลูกที่โยนขึ้นไปนั้นจะต้องไม่เป็นลูกที่ถูกทำให้หมุนด้วยความตั้งใจ 
3.ผู้ส่ง จะตีลูกได้ในขณะที่ลูกเทเบิลเทนนิสได้ลดระดับจากจุดสูงสุดแล้วเพื่อให้ลูกกระทบแดนของผู้ส่งก่อน แล้วข้ามหรืออ้อมตาข่ายไปกระทบแดนของฝ่ายรับ สำหรับประเภทคู่ ลูกเทเบิลเทนนิสจะต้องกระทบครึ่งแดนขวาของผู้ส่งก่อน แล้วข้ามหรืออ้อมตาข่ายไปกระทบครึ่งแดนขวาของฝ่ายรับ 
4.ตั้งแต่เริ่มส่งลูกจนหระทั่งลูกถูกตี ลูกเทบิลเทนนิสจะต้องอยู่เหนือระดับพื้นผิวโต๊ะ และอยู่หลังเส้นสกัด และจะต้องไม่ให้ถูกส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หรือเสื้อผ้าของผู้ส่ง หรือคู่เล่นในประเภทคู่ บังการมองเห็นของผู้รับ ขณะที่ลูกเทเบิลเทนนิสถูกโยนขึ้น มืออิสระของผู้ส่งจะต้องเคลื่อนออกจากบริเวณพื้นที่ระหว่างลำตัวผู้ส่งและตาข่าย (NET) (วัตถุประสงค์ของกติกาข้อนี้ ต้องการให้ผู้รับเห็นลูกเทเบิลเทนนิสตลอดเวลา ทั้งนี้ผู้ส่งหรือคู่ของผู้ส่งจะต้องไม่แสดงท่าทางที่จะต้องการบังการมองเห็นของผู้รับตลอดเวลาตั้งแต่ลูกออกจากมือของผู้ส่ง และเห็นถึงหน้าไม้ด้านที่ใช้ตีลูก)
5.เป็นความรับผิดชอบของผู้เล่นที่จะต้องส่งให้ผู้ตัดสินหรือผู้ช่วยผู้ตัดสินเห็น และตรวจสอบถึงการส่งนั้นว่าถูกต้องตามกติกาหรือไม่ 
5.1ถ้าผู้ตัดสินสงสัยในลักษณะการส่ง ว่าผู้ส่งได้ส่งลูกถูกตามกติกาในโอกาสแตกของแมทช์เดียวกันนั้น จะแจ้งให้ส่งลูกใหม่ และเตือนผู้ส่งโดยยังไม่ตัดคะแนน 
5.2สำหรับในครั้งต่อไปในแมทช์เดียวกันนั้น หากผู้เล่นหรือคู่เล่นยังคงส่งให้เป็นข้อสงสัยในทำนองเดียวกัน หรือในลักษณะน่าสงสัยอื่น ๆ ผู้รับจะได้คะแนนทันที 
5.3หากผู้ส่งได้ส่งลูกผิดกติกาอย่างชัดเจน ผู้ส่งจะเสียคะแนนทันที 
6.ผู้ส่งอาจได้รับการอนุโลมได้บ้าง หากผู้ส่งคนนั้นแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบถึงการหย่อนสมรรถภาพทางร่างกาย จนเป็นเหตุให้ไม่สามารถส่งได้ถูกต้องตามกติกา ทั้งนี้ต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบก่อนการแข่งขันทุกครั้ง

การรับลูกที่ถูกต้อง

การรับลูกที่ถูกต้อง
1.เมื่อลูกเทเบิลเทนนิสได้ถูกส่งหรือตีโต้ไปตกลงในแดนตรงข้ามอย่างถูกต้องแล้ว ฝ่ายรับตีลูกข้ามหรืออ้อมตาข่ายกลับไป เพื่อให้ลูกกระทบแดนของอีกฝ่ายหนึ่งโดยตรง หรือสัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งของตาข่ายแล้วตกลงในแดนของฝ่ายตรงข้าม

ลำดับการเล่น

ลำดับการเล่น
1.ประเภทเดี่ยว ฝ่ายส่งได้ส่งอย่างถูกต้อง ฝ่ายรับจะตีโต้กลับไปอย่างถูกต้องหลังจากนั้นฝ่ายส่งและฝ่ายรับจะผลัดกันตีโต้
2.ประเภทคู่ ผู้ส่งลูกของฝ่ายส่งจะส่งลูกไปยังฝ่ายรับ ผู้รับของฝ่ายรับจะต้อตีลูกกลับ แล้วคู่ของฝ่ายส่งจะตีลูกกลับไป จากนั้นคู่ของฝ่ายรับก็จะตีลูกกลับไปเช่นนี้สลับกันไปในการตีโต้

สนามกีฬาเทเบิลเทนนิส


สนามกีฬาเทเบิลเทนนิส
http://www.ipelp.ac.th/Center%20Sport/sara/sara%204/

การเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิส

การเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิส
         กีฬาปิงปอง หรือ เทเบิลเทนนิส ที่เรารู้จักกันนั้น ถือเป็นกีฬาที่มีความยากในการเล่น เนื่องจากธรรมชาติของกีฬาประเภทนี้ ถูกจำกัดให้ตีลูกปิงปองลงบนโต๊ะของคู่ต่อสู้ ซึ่งบนฝั่งตรงข้ามมีพื้นที่เพียง 4.5 ฟุต X 5 ฟุต และลูกปิงปองยังมีน้ำหนักเบามาก เพียง 2.7 กรัม โดยความเร็วในการเคลื่อนที่จากฝั่งหนึ่ง ไปยังอีกฝั่งหนึ่ง ใช้เวลาไม่ถึง 1 วินาที ทำให้นักกีฬาต้องตีลูกปิงปองที่กำลังเคลื่อนมากลับไปทันที ซึ่งหากลังเลแล้วตีพลาด หรือไม่ตีเลย ก็อาจทำให้ผู้เล่นเสียคะแนนได้
           ทั้งนี้ ปิงปองมีประโยชน์ต่อผู้เล่น เนื่องจากต้องอาศัยความคล่องแคล่ว ว่องไวในทุกส่วนของร่างกาย ดังนี้
 1. สายตา : สายตาจะต้องจ้องมองลูกอยู่ตลอดเวลา เพื่อสังเกตหน้าไม้ของคู่ต่อสู้ และมองลูกว่าจะหมุนมาในลักษณะใด 
 2. สมอง : ปิงปองเป็นกีฬาที่ต้องใช้สมองในการคิดอยู่ตลอดเวลา รวมถึงต้องวางแผนการเล่นแบบฉับพลันอีกด้วย
 3. มือ : มือที่ใช้จับไม้ปิงปอง จะต้องคล่องแคล่ว และว่องไว รวมถึงต้องรู้สึกได้เมื่อลูกปิงปองสัมผัสถูกหน้าไม้
 4. ข้อมือ : ในการตีบางลักษณะ จำเป็นต้องใช้ข้อมือเข้าช่วย ลูกจึงจะหมุนมากยิ่งขึ้น
 5. แขน : ต้องมีพละกำลัง และมีความอดทนในการฝึกซ้อมแบบสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดความเคยชิน  6. ลำตัว : การตีลูกปิงปองในบางจังหวะ ต้องใช้ลำตัวเข้าช่วย
 7. ต้นขา : ผู้เล่นต้องมีต้นขาที่แข็งแรง เพื่อเตรียมความพร้อมในการเคลื่อนที่ตลอดเวลา
 8. หัวเข่า : ผู้เล่นต้องย่อเข่า เพื่อเตรียมพร้อมในการเคลื่อนที่ 
  9. เท้า :  หากเท้าไม่เคลื่อนที่เข้าหาลูกปิงปอง ก็จะทำให้ตามตีลูกปิงปองไม่ทัน

วิธีการเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิส

วิธีการเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิส
  1. การส่งลูกที่ถูกต้อง ลูกจะต้องอยู่ที่ฝ่ามือแล้วโยนขึ้นไปในอากาศ สูงไม่น้อยกว่า 16 เซนติเมตร
  2. การรับลูกที่ถูกต้อง เมื่อลูกเทเบิลเทนนิสถูกตีข้ามตาข่ายมากระทบแดนของตนครั้งเดียว ต้องตีกลับให้ข้ามตาข่าย หรืออ้อมตาข่ายกลับไป ลูกที่ให้ส่งใหม่ คือ ลูกเสิร์ฟติดตาข่าย แล้วข้ามไปตกแดนคู่ต่อสู้หรือเหตุอื่นที่ผู้ตัดสินเห็นว่าจะต้องเสิร์ฟใหม่
  3. การแข่งขันมี 2 ประเภท คือ ประเภทเดี่ยวและประเภทคู่
  4. การนับคะแนน ถ้าผู้เล่นทำผิดกติกา จะเสียคะแนน
  5. ผู้เล่นหรือคู่เล่นที่ทำคะแนนได้ 11 คะแนนก่อน จะเป็นฝ่ายชนะ ยกเว้นถ้าผู้เล่นทั้งสองฝ่ายทำคะแนนได้ 10 คะแนนเท่ากันจะต้องเล่นต่อไป โดยฝ่ายใดทำคะแนนได้มากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง 2 คะแนน จะเป็นฝ่ายชนะ
   6. การแข่งขันประเภททีมมี 2 แบบ คือ 
               6.1. SWAYTHLING CUP มีผู้เล่นครั้งละ 3 คน
               6.2. CORBILLON CUP มีผู้เล่นครั้งละ 2 - 4 คน

วิธีการทำให้ลูกเทเบิลเทนนิลที่บุบกลับมาเป็นเหมือนเดิม

วิธีการทำให้ลูกเทเบิลเทนนิลที่บุบกลับมาเป็นเหมือนเดิม
1.ต้มน้ำร้อนให้เดือด
2.นำลูกเทเบิลเทนนิสที่บุบใส่ลงในน้ำที่ต้มเดือด ใส่ไม่นานเมื่อลูกหายบุบให้ตักลูกเทเบิลเทนนิสขึ้น หรือหาถ้วยที่เป็นแก้วมา แล้วนำลูกเทเบิลเทนนิสตั้งบนถ้วย และนำน้ำร้อนเทใส่ถ้วย เมื่อลูกหายบุบให้นำลูกเทเบิลเทนนิสขึ้น

คลิปวีดีโอของฉัน

คลิปวีดีโอของฉัน


ประวัติผู้จัดทำ


ประวัติผู้จัดทำ

https://scontent.fbkk5-2.fna.fbcdn.net/hphotos-xft1/v/t1.0-9/


ชื่อ ด.ช.ธนาวุฒิ ยังจันทร์
ชื่อเล่น แสงชัย
อายุ 14
เกิดวันที่ 14 มี.ค. 44
เรียนอยู่ชั้น ม.2 ห้อง 3
โรงเรียน อบจ.เมืองภูเก็ต